messager
folder สรุปผลการดำเนินการตามแผน
สรุปผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาท้องถิ่น
สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นตามแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2557-2560) 1.สรุปผลการดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับ และการเบิกจ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ.2557-2560 1.1 สรุปสถานการณ์การพัฒนา การตั้งงบประมาณ การเบิกจ่ายงบประมาณ การสรุปสถานการณ์การพัฒนาจากการดำเนินการที่ผ่านมา สามารถสรุปผลได้ ดังนี้ ๑. การประเมินประสิทธิภาพของแผนพัฒนาเชิงคุณภาพ จากการสอบถามความพึงพอใจของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และประชาชนส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังยางได้ดำเนินการตามโครงการและกิจกรรมตามแผนพัฒนาตำบล ๒. เนื่องจากประชาชนมีความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานมาเป็นอันดับแรก ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาจึงเน้นหนักไปที่ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และทางองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางก็จะพยายามต่อไปที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ของประชาชนให้ครบทุกด้าน ๓. การประเมินผลการนำแผนพัฒนาไปปฏิบัติในเชิงปริมาณ ส่วนใหญ่ในแผนพัฒนาตำบลในปีที่ผ่านมาได้จัดทำแผนงานโครงการและกิจกรรมไว้จำนวนมากครอบคลุมงานทุกด้านโดยไม่ได้จัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนและไม่ได้คำนึงถึงรายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับ ทำให้ในเชิงปริมาณการนำแผนพัฒนาไปปฏิบัติจึงไม่สามารถดำเนินการได้ครบ ๑๐๐ % 1.2 การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางประจำปี พ.ศ. 2557 ประกอบด้วยโครงการทั้งหมด 134 โครงการ งบประมาณ 179,702,164 บาท สามารถดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางประจำปี พ.ศ. 2557 ได้จำนวน 93 โครงการ งบประมาณ 13,093,931บาท แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบด้วยโครงการทั้งหมด 124 โครงการ งบประมาณ 154,200,364 บาท สามารถดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้จำนวน 102 โครงการ งบประมาณ ๑๕,๗53,100 บาท และแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางประจำปี พ.ศ. 2559 ประกอบด้วยโครงการทั้งหมด 125 โครงการ งบประมาณ 145,984,624 บาท สามารถดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางประจำปี พ.ศ. 2559 ได้จำนวน 132 โครงการ งบประมาณ 25,248,880 บาท องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์น้อยกว่าร้อยละ 50 ของแผนพัฒนาท้องถิ่น เมื่อเปรียบเทียบกับปีงบประมาณที่ผ่านมาโดยภาพรวมแล้วแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาท้องถิ่น เพราะมีโครงการที่บรรจุไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่นมากเกินไป แต่เนื่องจากมีงบประมาณจำกัดทำให้ไม่สามารถจะดำเนินการได้ตามแผนพัฒนาท้องถิ่นได้ การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง ในรอบปี พ.ศ.2559 ได้ยึดถือปฏิบัติตามแผนพัฒนาที่วางไว้โดยพิจารณาการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากที่สุดตอบสนองต่อปัญหาความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้ และมีการประสานแผนงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งจำแนกตามสาขาการพัฒนา ดังนี้ ด้านการพัฒนาด้านสังคม และสาธารณสุข 1. ส่งเสริม สนับสนุนด้านสาธารณสุข การพัฒนาและเสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้เข็มแข็ง ส่งเสริมสวัสดิการและสังคมสงเคราะห์ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 1.พัฒนาบุคลากร และเทคโนโลยีให้ทันสมัยและเหมาะสม การพัฒนาการบริหารงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ ให้มีความพร้อมในการช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน สนับสนุนงานด้านพระพุทธศาสนา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณี และสืบทอดภูมิ ปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุน ระบบการศึกษาของชุมชนทุกระดับ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมด้านนันทนาการ การแข่งขันกีฬา การออกกำลังกาย 6.การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ และสนับสนุนทุนการศึกษา ด้านการพัฒนาการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร การพัฒนาส่งเสริม รณรงค์การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ลดต้นทุนการผลิต และสร้างรายได้ให้เกษตรกร พัฒนารายได้และส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการท่องเที่ยว ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสริมศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวร่วมกับพื้นที่ใกล้เคียง ด้านการพัฒนาบ้านเมืองน่าอยู่ 1.ก่อสร้างปรับปรุงถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ถนนลูกรัง ขยายผิวจราจร ท่อระบายน้ำ และรางระบายน้ำ ท่อลอดเหลี่ยม คสล 2.ให้มีขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะ ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง ๒. ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๐ ๒.๑ ผลที่ได้รับหรือผลที่สำคัญ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินงานต่างๆ ตั้งแต่มีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๐ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน และพัฒนาองค์กรให้เกิดความมั่งคงในการพัฒนาเพื่อให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น ซึ่งผลจากการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ผลที่ได้รับมีดังนี้ ๑. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในแต่ละหมู่บ้าน เช่น ถนน ไฟฟ้า ท่อระบายน้ำ ไม่มีการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ได้รับเงินช่วยเหลือเบี้ยยังชีพทุกคน ประชาชนได้รับความช่วยเหลือจากสาธารณะภัยต่างๆ ขยะในชุมชนมีวิธีการจัดการที่ถูกต้อง ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการสาธารณสุข ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชนได้รับบริการจากงานบริการต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลด้วย ความสะดวก สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ ผลที่คาดว่าจะได้รับเพิ่มขึ้น มีดังนี้ ๑. ประชาชนมีถนนที่ได้มาตรฐานในการสัญจรไปมา ประชาชนมีน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค มีการบริหารจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประชาชนได้รับการฝึกอบรมอาชีพเพื่อนำไปประกอบอาชีพเพิ่มรายได้ให้กับ ครัวเรือน ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ๒.๒ ผลกระทบ องค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง ได้ดำเนินโครงการต่างๆตามแผนการดำเนินงาน ทำให้ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง ได้รับการบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพตามสถานะทางการเงินและการคลังของ อบต. ซึ่งผลกระทบส่วนใหญ่เป็นเรื่องงบประมาณที่ได้รับ ไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาให้กับประชาชน ๓. สรุปปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานที่ผ่านมาและแนวทางการแก้ไขปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๐ ปัญหา ๑. เจ้าหน้าที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของระเบียบ กฎหมาย เท่าที่ควร ๒. เครื่องมือ เครื่องใช้ เทคโนโลยีในการทำงานมีไม่เพียงพอและไม่ทันสมัย ๓. หมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีปัญหาที่จะต้องแก้ไขอยู่เป็นจำนวนมาก ๔. ประชาชนมีความต้องการซึ่งความต้องการดังกล่าวมีเป็นจำนวนมาก ๕. ประชาชนยังไม่เข้าใจขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลที่จะสามารถดำเนินการได้ องค์การบริหารส่วนตำบลไม่สามารถบรรจุโครงการ/กิจกรรมในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายได้ครบทุกโครงการ/กิจกรรมและครอบคลุมทุกยุทธศาสตร์การพัฒนา อุปสรรค ๑. การขาดความรู้เรื่องของระเบียบ กฎหมาย อีกทั้ง เครื่องมือ เครื่องใช้ เทคโนโลยีในการทำงานมีไม่เพียงพอและไม่ทันสมัย ทำให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินงานเป็นอย่างยิ่ง ๒. องค์การบริหารส่วนตำบลมีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานแก้ไขปัญหาของประชาชน ๓. องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถดำเนินการได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่ องค์การบริหารส่วนตำบลตั้งงบประมาณในการดำเนินการตามภารกิจแต่ละด้านบางรายการยังไม่เพียงพอและบางรายการมากเกินไป ทำให้ต้องโอนเพิ่ม โอนลด และตั้งจ่ายรายการใหม่ แนวทางการแก้ไข 1.ควรพิจารณาดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด เช่น การแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร ๒. การก่อสร้างถนนเพิ่มขึ้นในเขตตำบล ทำให้การระบายน้ำได้ช้าเกิดน้ำท่วมขังในบางจุด ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลวังยางต้องเร่งก่อสร้างรางระบายน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ควรพิจารณาจัดบริการประชาชนในเชิงรุกมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับ ความสะดวก รวดเร็วและถูกต้องในการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลควรยิ้มแย้ม แจ่มใส และพูดจาสุภาพต่อประชาชน ควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับประชาชน ควรสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับองค์การบริหารส่วนตำบล
การติดตามและประเมินผลแผน
ความสำคัญของการติดตามและประเมินผล การติดตาม (Monitoring) และ การประเมิน (Evaluation) เป็นกระบวนการที่แตกต่างกันมีจุดหมายไม่เหมือนกัน แต่กระบวนการทั้งสองมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน และเมื่อนำแนวคิดและหลักการติดตามและประเมินผล (Monitoringand Evaluation) มาประสานใช้ด้วยกันอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง พนักงานส่วนตำบลพนักงานจ้างสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง สามารถกำกับดูแล ทบทวน และพัฒนางาน พัฒนาท้องถิ่นตามแผนงาน โครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีขององค์การบริหารส่วนตำบลวังยางให้ความสำคัญ ดังนี้ ผลการปฏิบัติงานของผู้รับผิดชอบแต่ละแผนงาน โครงการเพื่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการหรือไม่ได้ดำเนินการตามแผนพัฒนาท้องถิ่นที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ รวมทั้งงบประมาณในการดำเนินงาน ผลการใช้ปัจจัยหรือทรัพยากรต่าง ๆ ในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางตรวจสอบดูว่าแผนงาน โครงการเพื่อการพัฒนาได้รับปัจจัยหรือทรัพยากรทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพตามระยะเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่อย่างไร ผลการดำเนินงาน ตรวจสอบดูว่าได้ผลตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด มีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง ทั้งในด้านการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การดำเนินการตามแผนงานและโครงการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินการตามโครงการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ความสำคัญของการติดตามและประเมินแผนเป็นเครื่องมือสำคัญในการทดสอบผลการดำเนินงานตามภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังยางว่าดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ทำให้ทราบและกำหนดทิศทางการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรมและเกิดความชัดเจนที่จะทำให้ทราบถึงจุดแข็ง (strengths) จุดอ่อน (weaknesses) โอกาส (opportunities) ปัญหาหรืออุปสรรค (threats) ของแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ. 2561-2564) โครงการ กิจกรรมต่างๆ ซึ่งอาจเกิดจากผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง ปลัด/รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง ผู้บริหารระดับหัวหน้าสำนัก/ผู้อำนวยการกอง บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง สภาพพื้นที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแผนงาน โครงการพัฒนาให้เกิดความสอดคล้องกับสภาพพื้นแวดล้อมในสังคมภายใต้ความต้องการและความพึงพอใจของประชาชน บทสรุปของความสำคัญก็คือ ในการไปสู่การวางแผนการพัฒนาในปีต่อ ๆ ไปเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์เชิงคุณค่าในกิจการสาธารณะมากที่สุดและเมื่อพบจุดแข็งก็ต้องเร่งรีบดำเนินการและจะต้องมีความสุขุมรอบคอบในการดำเนินการขยายโครงการ งานต่าง ๆ ที่เป็นจุดแข็งและพึงรอโอกาสในการเสริมสร้างให้เกิดจุดแข็งนี้ และเมื่อพบปัญหาและอุปสรรคก็จะต้องตั้งรับให้มั่น รอโอกาสที่จะดำเนินการและตั้งมั่นอย่างสุขุมรอบคอบพยายามลดถอยสิ่งที่เป็นปัญหาและอุปสรรค เมื่อพบจุดอ่อนต้องหยุดและถดถอยปัญหาลงให้ได้ ดำเนินการปรับปรุงให้ดีขึ้นตั้งรับให้มั่นเพื่อรอโอกาสและสุดท้ายเมื่อมีโอกาสก็จะต้องใช้พันธมิตรหรือผู้มีส่วนได้เสียในองค์การบริหารส่วนตำบลวังยางให้เกิดประโยชน์เพื่อดำเนินการขยายแผน โครงการ งานต่าง ๆ พร้อมการปรับปรุงและเร่งรีบดำเนินการ